Aug 29, 2016

10 เรื่องภูฏาน ที่คุณไม่รู้

1. ผู้ชายภูฏานเวลานั่งต้องระวัง

ปกติคนภูฏานจะใส่ชุดประจำชาติเป็นกิจวัตรประจำวัน โดยที่รัฐบาลไม่ได้บังคับแต่คนที่นี่สมัครใจที่จะใส่ เพราะถือว่าเป็นการคงไว้ซึ่งรากฐาน และมรดกทางวัฒนธรรมของเขา ชุดของผู้ชายภูฏานจะมีลักษณะเหมือนชุดเดรสสั้นคลุมเข่า ทำให้เวลานั่งจะต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่อย่างนั้นอาจจะดูเซ็กซี่จนเกินไป ในขณะที่ผู้หญิงภูฏานจะนั่งอย่างไรก็ได้ เพราะว่าใส่กระโปรงยาวคล้ายๆผ้าถุง นั่งอย่างไรก็ไม่โป๊.

Photo via: Rough Guides

ชุดของผู้ชายภูฏานที่มีฐานะหน่อยมักจะตัดเอง (Tailor Made) และใช้ผ้าเหมือนที่คนไทยนิผมใช้ตัดชุดสูท ถ้าเป็นชุดที่ใส่ในฤดูหนาวก็จะเป็นผ้า Wool ส่วนถ้าเป็นฤดูร้อนก็จะเป็นผ้า Cotton ทำให้ดูดีเป็นทางการ ยิ่งถ้าฝีมือตัดเย็บเนี๊ยบจะดูแล้วสมาร์ทมากๆเลย ถ้าอากาศหนาวมากๆชาวภูฏานก็จะใส่ Heat Tech ด้านใน และใส่เสื้อกันหนาวขนเป็ดแบบทันสมัยด้านนอก สำหรับรองเท้าก็จะนิยมใส่ของเท้าบูทยี่ฮ่อ UGGs ส่วนถ้าอากาศร้อนจะใส่เป็นถุงเท้าทำงาน ดึงขึ้นมาคลุมเข่า กับรองเท้าหนังคัทชู แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างประเพณีเดิมแบบภูฏาน และความทันสมัยแบบตะวันตก.

 

Photo via: OKnation


2. ภูฏานมีการจำกัดการขายเนื้อสัตว์

Photo via: out and about – WordPress.com

ภูฏาน เป็นประเทศพุทธที่ค่อนข้างเข้มงวดจึงไม่มีการฆ่าสัตว์ในประเทศเลย ถ้าเลี้ยงวัวก็จะเลี้ยงเพื่อรีดนมเท่านั้น เพราะฉะนั้นอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์เกือบทั้งหมดของภูฏาน จะถูกส่งมาจากประเทศอินเดีย ส่วนของแห้งจะถูกส่งมาจากประเทศไทย ทำให้อาหารในภูฏานมีราคาสูง และเวลานักท่องเที่ยวไปร้านอาหาร ส่วนมากเขาจะเสิร์ฟเป็นบุฟเฟ่ต์ และจะมีเนื้อสัตว์ 1 เมนูเท่านั้น ถ้า VIP หน่อยอาจจะมีเนื้อสัตว์สัก 2 เมนูก็ถือว่าพิเศษมากแล้ว เพราะคนภูฏานจริงๆไม่นิยมทานเนื้อสัตว์แต่จะทานอาหารเมนูผักมากกว่า และยังมีบางเดือนที่ตลาดจะไม่ขายเนื้อสัตว์เลยด้วย ส่วนมากจะเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนพฤษภาคม ขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติของแต่ละปี ส่วนเรื่องเวลาทานอาหาร คนภูฏานจะนิยมทานข้าวสวย อย่างมื้อเย็นก็จะทานตอนประมาณสาม ทุ่ม เพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอินเดีย.

Photo via: Where is FatBoy


 

3. อาหารอินเดียที่ภูฏานอร่อย

เนื่องจากภูฏานมีชายแดนติดกับประเทศอินเดีย และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ยาวนาน และแน่นแฟ้น จึงทำให้มีการทำธุรกิจนำเข้าอาหารจากอินเดียเป็นจำนวนมาก โดยทางกลับกันภูฏานก็ส่งออกข้าวสารไปยังอินเดียเป็นจำนวนมาก ในส่วนของการท่องเที่ยว ชาวอินเดียเป็นชาติที่มาเที่ยวภูฏานมากที่สุด และชาวภูฏานที่มีฐานะก็นิยมส่งลูกไปเรียนหนังสือที่อินเดียด้วย ทำให้เกิดการผสมผสานของวัฒนธรรม และมีร้านอาหารอินเดียที่รสชาติเหมือนต้นตำหรับเกิดขึ้นมากมาย.


Photo via: klook.com


 

4. คนภูฏานดื่มเหล้าหนัก

Photo via: Love and Barley

ด้วยภูมิประเทศที่อยู่ท่ามกลางหุบเขาหิมาลัย ทำให้ประเทศภูฏานมีอากาศที่หนาวเย็น และการดื่มเหล้าก็เป็นวิธีหนึ่งที่ชาวท้องถิ่นนิยมเพื่อบรรเทาความหนาว เป็นที่มาของความชำนาญในการผลิตเหล้าที่มีรสชาติเยี่ยม เช่น วิสกี้ ไวน์ลูกพีช และเบียร์ เป็นต้น ทำให้มีนักท่องเที่ยวที่ต้องการเส้นทางแปลกใหม่หันมาเที่ยวทัวร์ Wine & Cheese Tasting (ชิมไวน์ และชีส) แทน ใครที่สนใจทริปนี้สามารถสอบถามบีไลน์ทัวร์ได้ครับ

Photo via: BeerAdvocate

อย่างไรก็ตามรัฐบาลภูฏานเริ่มพยายามรณรงค์ให้ประชากรดื่มเหล้าน้อยลงโดยการออกกฎงดการดื่มเหล้าในวันอังคาร

Photo via: Pinterest


 

5. สนามบินภูฏานไม่มีเรด้า


Photo via: Naukri Nama

สนามบินนานาชาติของภูฏานอยู่ที่เมืองพาโร ห่างออกจากเมืองทิมพูซึ่งเป็นเมืองหลวงประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที และมีเพียง 2 สายการบินที่บินเข้ามาเท่านั้น นั่นก็คือ Drukair และ Bhutan Airlines เพราะนักบินจะต้องมีความชำนาญสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องบินผ่านเทือกเขาสูง และสนามบินที่นี่ไม่มีเรด้า จึงทำให้เครื่องบินสามารถบิน เข้า-ออก ได้เฉพาะช่วงเวลาที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นนักบินจะมองไม่เห็นภูเขาและรันเวย์ ความจริงที่ไม่อนุญาตให้บินตอนกลางคืน มีข้อดีตรงที่ชาวบ้านเมืองพาโรสามารถใช้ชีวิตปกติได้ โดยไม่มีเสียงเครื่องบินรบกวนตอนกลางคืน.


6. ภูฏานไม่มีโรงหนัง

คนภูฏานจริงๆแล้วไม่ได้เป็นคนล้าหลังเลย พวกเขามี iPhone รุ่นใหม่ล่าสุดใช้ มีรถหรูๆดีๆขับ ใช้ Social Media ทุกชนิด แต่เขาตั้งใจที่จะอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมและความเป็นอยู่ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด จึงทำให้ไม่มีโรงหนังในภูฏาน เพราะฉะนั้นเวลาคนภูฎานอยากดูหนังอะไรจะต้องดูผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องบินไปเที่ยว และดูหนังที่เมืองไทย.

 

Photo via: Star2.com


 

7. โรงเรียนภูฎานสอนเป็นภาษาอังกฤษ

Photo via: upliftconnect.com

ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาล เอกชน หรือ แม้กระทั้งมหาวิทยาลัย ล้วนแล้วแต่สอนเป็นภาษาอังกฤษ จึงทำให้แม้แต่เด็กลูกชาวนาในต่างจังหวัดของภูฏาน ก็ยังสามารถพูดคุยกับนักท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี โรงเรียนที่ภูฏานเป็นสวัสดิการของรัฐบาล ทำให้คนภูฏานสามารถเรียนได้ฟรีถึงปริญญาตรี และรัฐบาลภูฏานยังสนับสนุนนักเรียนที่เรียนดีโดยการให้ทุนไปเรียนต่อในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น แคนาดา อังกฤษ และไทย เป็นต้น.


8. คนภูฏานมาเรียนหนังสือที่เมืองไทยเยอะมาก

ไม่ว่าจะด้วยทุนส่วนตัว หรือทุนรัฐบาล คนภูฏานมาเรียนหนังสือที่ประเทศไทยเยอะมาก แต่อาจจะดูไม่ออกว่าเป็นคนภูฏาน เพราะหน้าตาเขาก็ดูคล้ายคนไทยและคนจีน แถมบางคนอาจจะพูดภาษาไทยได้คล่องด้วย ไม่แน่นะ คนที่นั่งเรียนคลาสเรียนของคุณอาจจะเป็นคนภูฏานก็ได้


9. ผู้หญิงภูฏานใหญ่กว่าผู้ชาย

คนภูฏานจะยกมรดก เช่น ที่ดิน และธุรกิจ ให้แก่ลูกสาว อาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อสมัยก่อนทุกครอบครัวจะต้องส่งลูกชาย 1 คนไปบวชเป็นพระ (ห้ามสึก) จึงทำให้ไม่สะดวกในการถือครองกรรมสิทธิ์ต่างๆ และเมื่อชาวภูฏานแต่งงาน ผู้ชายจะต้องไปอยู่บ้านผู้หญิง และช่วยทำงานอื่นๆ ถ้าไปภูฏานจะสังเกตได้ว่าผู้ชายมักจะเป็นคนอุ้มลูกมากกว่า แต่ยุคสมัยนี้เปลี่ยนไปทำให้มีความเท่าเทียบกันมากขึ้น

Photo via: news.zing.vn


 

10. เพียงแค่มาภูฏานก็ได้บุญแล้ว

ในการเดินทางท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวจะต้องจ่าย 65 USD ต่อวัน (รวมอยู่ในค่าทัวร์แล้ว) ให้กับทางรัฐบาลภูฏาน เพื่อใช้ในการศึกษาและสาธารณสุข เนื่องจากชาวภูฏานทุกคนมีสิทธิ์เรียนและรักษาพยาบาลฟรี นอกจากนี้ยังเป็นกฏว่าจะต้องมีมัคคุเทศก์ที่เป็นชาวภูฏานนำทางเสมอ ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะเดินทางมากี่คนก็ตาม นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนของเขานั้นเอง
.
ก่อนจะไปเที่ยวภูฏาน…

Photo via: allpicts.in

ก่อนที่จะไปภูฏานแนะนำให้ไปฝึกเดินป่า หรือฟิตร่างกายซะก่อน เพราะการเที่ยววัด Taktsang (หรือ Tiger’s Nest) ซึ่งเป็นไฮไลท์ของทริปภูฏานอาจจะไม่ง่ายเท่าไหร่ เพราะคุณจะต้องเดิน ขึ้น -ลง บนทางที่ชัน ซึ่งถ้าฝนตกทางก็อาจจะเป็นโคลน ทำให้ลื่นได้ง่าย จึงควรเตรียมรองเท้าเดินป่าอย่างดีที่ยึดเกาะพื้นได้สูง และอย่าลืมเตรียมไม้สำหรับพยุงตัวเวลาเดินขึ้น-ลงเขาด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเดินทางไปวัด Taktsang ถือว่าเป็นการเดินทางที่คุ้มค่า ที่ทุกคนควรจะไปเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะวิวบนนั้นสวยงามมากจริงๆ และระหว่างทางยังสามารถแวะถ่ายรูปธรรมชาติต่างๆได้อย่างรื่นรมย์อีกด้วย.

แชร์เรื่องนี้